ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางและเกณฑ์การวัดและประเมินผล
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการคัดสรรตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อลดความซ้ำซ้อนของตัวชี้วัด ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามหลักสูตร จากจำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดระหว่างทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เป็นการประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก (Formative Assessment) ตัวชี้วัดปลายทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Summative Assessment) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ตัดสินผลการเรียนสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ปีการศึกษานี้เป็นต้นไป เนื่องจากไม่ได้เป็นการปรับหลักสูตร แต่เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการออกแบบการเรียนรู้แลวัดประเมินผล เพื่อลดภาระ ลดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
การคัดสรรตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง
1. เป็นการคัดสรรตัวชี้วัดสำคัญซึ่งสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้หลักที่จะใช้ในการวัดและประเมินผลเพื่อลดภาระของครูและนักเรียนในการวัดและประเมิน โดยไม่เสียคุณภาพ
2.จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระไม่ได้สะท้อนความสำคัญของกลุ่มสาระ
3.จำนวนตัวชี้วัดจะขึ้นกับธรรมชาติของกลุ่มสาระนั้นๆ เป็นสำคัญ
4.จำนวนตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัดนี้สามารถอธิบายความสำเร็จของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ
แนวทางในการนำตัวชี้วัดปลายทางไปใช้
1. สพฐ. กำหนดแนวทางในการวัดแลประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้ตัวชี้วัดปลายทางในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และแต่ละระดับชั้น
2. ครูประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ โดย ใช้ตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด
3. ตัวชี้วัดที่เหลือซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดระหว่างทางให้ครูใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยอาจมีการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก แต่ไม่ต้องนำไปรวมเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้
4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้นั้นจะใช้มโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Learning) เป็นหลัก โดยเน้นการให้ผลป้อนกลับที่มีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาผู้เรียนที่มากพอ (Constructive Feedback) โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
สรุปแนวทางการออกแบบการเรียนรู้
1. ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน
2.การจัดการเรียนรู้นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสอดคล้องกับตัวชี้วัดทุกตัว
3. การออกแบบการเรียนรู้สามารถทำได้ทั้งใช้ตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันและข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้
4.การประเมินเพื่อสรุปหรือตัดสินผลการเรียนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างจัดิจกรรมการเรียนรู้และเมื่อจบการเรียนรู้
5.ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางที่เป็นทักษะสามารถใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน
การจัดการเรียนการสอนแลการวัดและประเมินผลของครูเกิดความยืดหยุ่น คล่องตัว และผู้เรียนได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการ
พัฒนาตนเองที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลง ของสังคมโลก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดแนวทางการวัด
และประเมินผล การเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน ดังนี้
1.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ที่สถานศึกษานำไปใช้
ในการกำหนดโครงสร้างรายวิชา การอกแบบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้รับการ
พัฒนาให้บรรลุคุณภาพตามตัวชี้วัดที่กำหนด สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1.1 ตัวชี้วัดระหว่างทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่
เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก (Formative Assessment)
ㆍ ผ่านมโนทัศน์ของการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for learning)
ㆍและการประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as learning)
ㆍด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายโดยเน้นการวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment)
เช่น
การสังเกตพฤติกรรม
การสอบปากเปล่า
การพูดคุย
การใช้คำถาม
การเขียนสะท้อนการเรียนรู้
การประเมินตนเอง
เพื่อนประเมินเพื่อน เป็นต้น
การวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment) เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นรายบุคคล จากแหล่งข้อมูลหลากหลายที่ผู้สอนเก็บรวบรวมตลอดเวลา
วิเคราะห์ข้อมูล
ศึกษาความพร้อมและพัฒนาการของผู้เรียน
ปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสม
แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ ของผู้เรียน
ลักษณะของข้อมูลที่ได้นอกเหนือจากตัวเลข หรือข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว อาจเป็นข้อมูลบรรยายลักษณะ
พฤติกรรมที่ผู้สอนเฝ้าสังเกต
หรือผลการเรียนรู้ในลักษณะคำอธิบายระดับพัฒนาการ จุดแข็ง จุดอ่อน หรือปัญหา ของผู้เรียนที่พบ
จาก
การสังเกต
สัมภาษณ์
หรือวิธีการอื่น ๆ
ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และเป็นวิธีการที่ยืดหยุ่น ตามสถานการณ์และบริบทของครูผู้สอน
ตัวชี้วัดปลายทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นที่การประเมิน ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Summative Assessment) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เน้นการวัดและประเมินผล แบบเป็นทางการ (formal Assessment) เช่น
การประเมินการปฏิบัติ
การประเมินแฟ้มสะสมงาน
การประเมินด้วยแบบทดสอบ
การประเมินนงาน/ภาระงาน เป็นต้น
การเก็บข้อมูลดังกล่าว ใช้ในการวัดและประเมินที่ได้ผลเป็นคะแนนและนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น
เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อดูพัฒนาการ
หรือใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ เมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชา วิธีการและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลผลการเรียนรู้แบบเป็นทางการ (formal Assessment) เป็นตัวแทน ของระดับความสามารถของผู้เรียน เป็นข้อมูลที่ต้องได้มาจากวิธีการวัดที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูล เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความเที่ยงตรง (Validity) และมีความเชื่อมั่น (Reliability) มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบ และเชื่อถือได้ (Acceptable)
เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน
ระดับมัธยมศึกษา
1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ
2.ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินตัวชี้วัดปลายทางผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่นตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน